วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2
วัน อังคาร ที่ 12 พฤศจิกายน  .  2556 
เรียน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กิจกรรมการเรียนการสอน
            เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ความหมายของเด็กพิเศษที่มีความต้องการพิเศษ
1.ทางการแพทย์
            มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการหมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ  มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ทางจิตใจ
2.ทางการศึกษา
            หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา  หลักสูตร  กระบวนการใช้ และการประเมินผล
            สรุปได้ว่าเด็กพิเศษที่มีความต้องการพิเศษ
- ที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุ จาก สภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น  การช่วยเหลือ  การบำบัดฟื้นฟู
การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
ประเภทของเด็กพิเศษ  แบ่งออกเป็น2กลุ่มใหญ่
1.กลุ่มเด็กมีความสามารถสูง
            มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา  เรียกสั้นๆว่า  เด็กปัญญาเลิศ
2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความบกพร่อง
            กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
2.1เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
            มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
-ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูดหรือพูดไม่ได้สมวัย
-ช่วงความสนใจสั้น  วอกแวก
-ความคิดและอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
-ทำงานช้า
-รุนแรง  ไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน

2.2เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
            มี 2 ประเภท  คือ  เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
เด็กหูตึงจำแนกได้ 4 กลุ่ม
  1.หูตึงระดับน้อย  ได้ยินระหว่าง 26-40 dB
 2.หูตึงระดับปานกลาง  ได้ยินระหว่าง 41-55 dB
 3.หูตึงระดับมาก  ได้ยินระหว่าง 56-70 dB
 4.หูตึงระดับรุนแรง  ได้ยินระหว่าง 71-90 dB

2.3เด็กบกพร่องทางการมองเห็น
            เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเรือนราง
            มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง
            สามารถเห็นได้ถึง 9/10 ของคนสายตาปกติ
            มีลานสายตากว้างไม่เกิน 90องศา
     จำแนกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  เด็กตาบอดและบอดไม่สนิท
            ลักษณะอาการของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
-เดินงุ่มง่าม  ชนและสะดุดวัตถุ
-มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
-ก้มศีรษะชิดกับงาน
-ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น