วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4
วัน อังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน  .  2556 
เรียน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กิจกรรมการเรียนการสอน
             -อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
            -อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครู   เรื่อง  ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ แล้ว  สรุปผังความคิดด้วย  My  Mapping

เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้  มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ
            1.วิตกกังวล
            2.หนีสังคม
            3.ก้าวร้าว
การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ
            1.สภาพแวดล้อม
            2.ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
            1.ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ
            2.รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
            3.มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
            4.มีความคับข้องใจและมีความเก็บกดอาการ
            5.แสดงอาการทางร่างกาย  เช่น  ปวดศีรษะ  ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
            6.มีความหวาดวิตก
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม มีความรุนแรงมาก
            1.เด็กสมาธิสั้น
            2.เด็กออทิสติก  หรือ  เด็กออทิสซึม
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
            1.อุจจาระ  ปัสสาวะ  ลดเสื้อผ้า  ที่นอน
            2.ติดขวดนม  หรือ  ตุ๊กตา  และของใช้ในวัยทารก
            3.ดูดนิ้ว  กัดเล็บ
            4.หงอยเหงาเศร้าซึม  การหนีสังคม
            5.เรียกร้องความสนใจ
เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
            -เรียกย่อๆว่า  LD
            -มีปัญหาการเรียนเฉพาะอย่าง
            -มีปัญหาการใช้ภาษา  การพูด  การเขียน
     *ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเล็กน้อยทางการเรียน  เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย

ลักษณะเด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้
            -มีปัญหาทางทักษะคณิตศาสตร์
            -ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
            -เล่าเรื่อง / เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
            -มีปัญหาด้านการอ่านเขียน
            -ติดกระดุมไม่ได้
ออทิสติก
            -หรือ  ออทิสซึม
            -บกพร่องรุนแรงมาก  สื่อความหมายพฤติกรรม  สังคม  และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
            -เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง
เด็กออทิสติก
            ทักษะภาษา                              ต่ำ
            ทักษะทางสังคม

            ทักษะการเคลื่อนไหว                                                               สูง
            ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง  ขนาดและพื้นที่

ลักษณะของเด็กออทิสติก
            -อยู่ในโลกของตนเอง
            -ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
            -ไม่ยอมพูด
            -ยึดติดกับวัตถุ
            -เคลื่อนไหวแบบซ้ำ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่  3
วัน อังคาร ที่ 19 พฤศจิกายน  .  2556 
เรียน วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กิจกรรมการเรียนการสอน
            -อาจารย์สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  (Children  with  physical  and  heath  lmpairments)
            1.เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
            2.อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
            3.มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
            จำแนกเป็น 2 ประเภท  คือ 
            1.อาการบกพร่องทางร่างกาย 
            2.อาการบกพร่องทางสุขภาพ

      อาการบกพร่องทางร่างกาย  เช่น
            1.ซี  พี  Cevebral  Palsy 
   -การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ  หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด  ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
   -การเลื่อนไหว  การพูด  พัฒนาการล่าช้า  เด็ก ซีพี  มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

อาการ
     1.อัมพาตเกร็งแขนขา  หรือครึ่งซีก  Spastic
     2.อัมพาตขอองลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ  Athetcid
     3.อัมพาตการทรงตัว  Ataxia
     4.อัมพาตตึงแข็ง  Rigid
     5.อัมพาตแบบผสม  Mixed

            2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง  Muscular  Distrophy
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้  นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่
-จะมีความพิการซ้ำซ้อนในระยะหลัง  คือ  ความจำแฝง  สติปัญญาเสื่อม

            3.โรคทางระบบกระดูก  Orthopedic
      ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด  เช่น  เท้าแสนปม  Club  Foot  กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน  อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
            1.ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ  Infection  เช่น  วัณโรค  กระดูกหลังโก่ง  กระดูกผุ  เป็นแผลเรื้อรัง  มีหนอง  เศษกระดูกผุ
            2.กระดุกหัก  ข้อเคลื่อน  ข้ออักเสบ

            4.ปอลิโอ  Poliomyelitis  เกิดจาก  เชื้อไวรัสเข้าทางปาก  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก  แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
            1.ยืนไม่ได้  หรืออาจปรับสภาพให้ยืนได้ด้วยอุปกรณ์เสริม

            5.โรคกระดูกอ่อน  Osteogenesis  Lmperfeta
            ทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่สมวัย  ตัวเตี้ย  มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ   กระดูกยาว  บิดเบี้ยวเห็นได้ชัดเจนจากกระดูกหน้าแข้ง

2.ความบกพร่องทางสุขภาพ
            1.โรคลมชัก  Epilepsy
      เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง
            1.1ลมบ้าหมู  Grand  Mal
     เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็ง หรือ แขนขากระตุก  กัดฟัน  กัดลิ้น
           
            1.2การชักในช่วงเวลาสั้นๆ  Petit  Mal
      -เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ 5-10 นาที
      -เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
      -เด็กจะนั่งเฉยหรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
            1.3การชักแบบรุนแรง
        เมื่อเกิดอาการชัก  เด็กจะส่งเสียงหมดความรู้สึก  ล้มลง  กล้ามเนื้อเกร็ง  เกิดขึ้นราว 2-5นาที  จากนั้นจึงหายและนอนหลับในชั่วครู่
            1.4อาการชักแบบ  Partial  Complex
       -เกิดอาการเป็นระยะๆ
       -กัดริมฝีปาก  ไม่รู้สึกตัว  ถูตา  แขน  ขา  เดินไปมา
       -บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห  หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
            1.5อาการไม่รู้สึกตัว  Focal  Partial
        เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น  เด็กไม่รู้สึกตัว  อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้  เช่น  ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเหม่อลอย  แต่ไม่มีอาการชัก
           
            โรคที่เกิดจากสุขภาพ
-โรคระบบทางเดินหายใจ
-โรคเบาหวาน  Diabetes  mellitus
-โรคศีรษะโตHydrocephalus
-โรคหัวใจCardiac  Conditions
-โรคมะเร็งConcer
-เลือดไหลไม่ไม่หยุดHemophilia

     ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาด้านการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดิรขากะเพลก
-หกล้มบ่อยๆ

เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา ( Chilldren  with  speech  and  lamguage)
            เด็กที่พูดไม่ชัด  ออกเสียงผิดเพี้ยน  อวัยวะที่ใช้ในการพูด  ไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดั่งตั้งใจมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
  1.ความผิดปกติทางด้านการออกเสียง
            ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
            เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
            เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง   เช่น  กวาด  เป็น  ฟาด
  2.ความผิดปกติด้านจังหวะการพูด  เช่น  การพูดรัว
  3.ความผิดปกติด้านเสียง
            ระดับเสียง
            ความดัง
            คุณภาพของเสียง
4.ความผิดปกติด้านการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียกว่า  Dysphasia  หรือ  aphasia
            4.1Motor  aphasia
       - เด็กเข้าใจคำถาม  หรือ คำสั่ง  แต่พูดไม่ได้  ออกเสียงลำบาก
       -พูดได้ช้าพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย  บอกชื่อสิ่งของพอได้
       -พูดไม่ถูกไวยากรณ์
            4.2Wernicke’s  aphasia
      - เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม  หรือ  คาสั่ง  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
      -ออกสียงไม่ติดขัด  แต่มักใช้คำผิด  หรือใช้คำอื่นซึ้งไม่มีความหมายแทน
            4.3Conduction  aphasia
     -เด็กที่ออกเสียงไม่ติดขัด  เข้าใจคำถามดี  แต่พอพูดตาม  หรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ 
     -มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา

            4.4Nominal  aphasia
      เด็กที่ออกเสียงได้  เข้าใจคำถามดี  พูดตามได้  แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้  เพราะลืมชื่อบางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ  มักเกิดไปกับGerstmann’s  syndrome
            4.5Global  aphasia
       -เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาขียน
      -พูดไม่ได้เลย
            4.6Sensory  agraphia
       เด็กเขียนเองไม่ได้  เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้มักเกิดร่วมกับGerstmann’s  syndrome
            4.7Moter  ahraphia
       -เด็กลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้
       -เขียนตามคำบอกไม่ได้
            4.8Cortical  alexia
       เด็กที่อ่านไม่ออก  เพราะไม่เข้าใจภาษา
            4.9Motor  alexia
       เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์  ข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
            4.10Gerstmann’  syndrome
     -ไม่รู้จักชื่อนิ้ว finger  agncsia
     -ไม่รู้จักซ้ายขวา allochiria
     -คำนวณไม่ได้acalculia
     -เขียนไม่ได้apraphia
    -อ่านไม่ออกalexia
            4.11Visual  asvesia
      เด็กที่มองเห็นวัตถุ  แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร  บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
            4.12Acditery  agnosia
      เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ